แนวความคิดการพัฒนา อปพร. และการประชาสัมพันธ์สู่ระบบรากหญ้า
ผลสืบเนื่องจากความเจริญของโลกในยุคโลกาภิวัฒน์ที่มีการใช้ทรัพยากรอย่างไม่ประหยัด และใช้อย่างไม่ฉลาด ทำให้สิ่งแวดล้อมของโลกถูกทำลายและเสื่อมโทรมลง ดุลยภาพแห่งธรรมชาติ (NATURE BALANCE) ได้รับผลกระทบ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่มีผลเชิงลบในรูปแบบปรากฎการณ์ภัยทางธรรมชาติที่เป็นสาธารณภัย สร้างความหายนะแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนอย่างใหญ่หลวง ซึ่งภัยเหล่านี้มนุษย์ยังไม่สามารถขจัดหรือควบคุมได้
ภัยต่างๆ ที่เป็นสาธารณภัยที่สร้างความเดือดร้อยแก่มนุษยชาติ สามารถจำแนกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
1. ภัยจากธรรมชาติ สิ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น วาตภัย อุทกภัย ภัยจากแผ่นดินไหว ภัยจากความแห้งแล้งและหนาวเย็น ภัยจากภูเขาไฟระเบิดซึ่งภัยประเภทนี้ไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ที่ไหนรุนแรงมากน้อยเพียงใดระยะเวลาของภัยจะยาวนานกี่วันแต่ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในยุคปัจจุบันรวมทั้งอาศัยประสบการณ์และความช่างสังเกตของมนุษย์ในปรากฎการณ์ทางธรรมชาติอย่างต่อเนื่องตลอดมา ทำให้สามารถพยากรณ์ความน่าจะเป็นไปได้ว่า ภัยธรรมชาติบางประเภทจะเกิดขึ้นที่ไหน เมื่อไหร่
2. ภัยที่เกิดจากมนุษย์ก่อขึ้น ซึ่งมักมาจากความประมาทหรือจงใจให้เกิดขึ้น เช่น อุบัติเหตุทางถนน ภัยจากสารเคมี ภัยจากการก่อวินาศภัย
ผลจากการปฏิรูประบบราชการของรัฐบาลwด้มีการออกพระราชบัญญัติปรับปรุงระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ทำให้เกิดกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย มีภาระหน้าที่ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ฟื้นฟูสภาพพื้นที่เมื่อภัยสิ้นสุด
ดังนั้น ภารกิจหน้าที่ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (กรมปภ.) จึงมีขอบเขต กว้างขวาง แต่เมื่อเปรียบเทียบกับอัตรากำลังเจ้าหน้าที่และงบประมาณที่รัฐบาลจัดสรรให้กับ
ภารกิจที่ได้รับมอบหมายในการบริหารจัดการสาธารณภัยที่เกิดขึ้นในแต่ละปี จึงเป็นภาระที่หนักยิ่งของผู้บริหารที่จะต้องบริหารทรัพยากรที่มีจำกัด แต่ต้องช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่างๆ มากมายทั่วประเทศ
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันการจัดสรรงบประมาณของรัฐบาลจะต้องจัดสรรให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามเงื่อนไขบังคับของกฎหมาย แต่งบประมาณที่จะใช้บริหารการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของกรม ปภ. ทั้งในส่วนกลางและส่วนกลางในภูมิภาค มีอยู่จำนวนจำกัด นับวันจะต้องลดลงตามกรอบของนโยบายการลดอัตรากำลังคนภาครัฐ ดังนั้น กรม ปภ. จะต้องกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยให้ความสำคัญในเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชน(PEOPLE PARTICIPATION) เป็นกลยุทธ์สู่ความสำเร็จในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ซึ่งสอดคล้องกับบทบัญญัติของกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ที่ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมของรัฐ รวมทั้งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย การสร้างระบบการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542 ก็ให้ความสำคัญกับหลักความมีส่วนร่วมของประชาชน
บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
การสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะ อบต. ให้มีส่วนร่วมในการ
ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จึงสอดคล้องกับนโยบายแห่งรัฐ และสามารถดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม เช่น
1. การตั้งงบประมาณในข้อบังคับประจำปีเพื่อสนับสนุน
1.1 การสงเคราะห์ผู้ประสบภัย
1.2 การอบรมความรู้ด้านสาธารณภัยแก่ประชาชน
1.3 การอบรมอาสามัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.)
1.4 อุดหนุนการปฏิบัติงานของ อปพร.
2. ให้มีหน่วยงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในโครงสร้างการบริหารงานของ อบต.
3. การวางแผนแก้ไขสาธารณภัยในเขตพื้นที่ อบต.ในระยะยาว
ในการที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะดำเนินการดังกล่าว จำเป็นจะต้องมีการประชุม สัมมนาซักซ้อมผู้บริหารให้มีความเข้าใจ และเห็นความจำเป็นของงานป้องกันและบรรเทา
สาธารณภัยในเขตพื้นที่ของท้องถิ่น
ข้อเสนอขั้นตอนระดับการอบรมสู่ “อปพร.”
ในฐานะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีจุดเด่นที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชน และศักยภาพ
ทางการคลังสามารถที่จะสนับสนุนให้ประชาชนในเขตพื้นที่มีความรู้ด้านสาธารณภัย โดยทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพร่วมกับ ปภ.จังหวัดจัดอบรมให้ความรู้แก่ประชาชน และเตรียมประชาชน
ให้มีความพร้อมเข้าสู่หลักสูตรการอบรม “อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน” (อปพร.) โดยให้ผ่านการอบรม ขั้นต่างๆ และใช้หลักสังคมมิติ (SOCIO – METRIC)
ในขณะนี้ แม้ว่าตามสถิติจะมีสมาชิกอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) ทั่วประเทศประมาณ 200,000 คนเศษ แต่โดยข้อเท็จจริงจะมากในเชิงปริมาณ แต่ในด้านคุณภาพคงจะต้องปรับปรุงฟื้นฟูในโอกาสต่อไป ทั้งนี้ เนื่องจากการอบรม อปพร.ที่ผ่านมาอาจไม่เน้นเข้มงวดในการกลั่นกรองคุณสมบัติผู้เข้าอบรม ที่จะต้องพร้อมทั้งวัยวุฒิ คุณวุฒิ และอุดมการณ์ที่จะช่วยเหลือประชาชน บางส่วนเกิดจากการอุปถัมภ์ผลักดันทางด้านการเมือง ดังนั้นในโอกาสต่อไป ผู้ที่จะเข้าอบรมหลักสูตร “อปพร.” องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องกำหนดให้ผู้เข้าอบรมต้องผ่านการ อบรมตามขึ้นตอนดังนี้
ขั้นการอบรม
|
เนื้อหาการอบรม |
สถานที่อบรม |
ขั้นที่ 1 ใช้เวลา 1 วัน คณะวิทยากร ปภ.จังหวัด |
- ให้ความรู้ในด้านสาธารณภัยที่เกิดกับประชาชนในพื้นที่หรือคาดว่าจะเกิดในพื้นที่หมู่บ้าน |
ดำเนินการในระดับหมู่บ้านโดยเฉพาะหมู่บ้านพื้นที่ เสี่ยงภัยเป็น FIRST PRIORITY |
ขั้นที่ 2
ใช้เวลา 1 วัน คณะวิทยากร ปภ.จังหวัดและอำเภอ |
- ฝึกปฏิบัติการป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย (ผู้เข้าอบรม คัดเลือกจาก ผู้เข้าอบรมขั้นที่ 1 โดยใช้หลักสังคมมิติ (SOCIO – METRIC) หมู่บ้านละ 3 – 5 คน รวมทั้งตำบลประมาณ 40 – 60 คน) |
ที่ทำการ อบต. |
ขั้นที่ 3
ใช้เวลา 1 วัน คณะวิทยากร ปภ.จังหวัดและอำเภอ |
- ให้ความรู้ด้านกฎหมาย ปพร. และระเบียบมหาดไทยว่าด้วย อปพร.เบื้องต้น - ฝึกการช่วยเหลือประชาชน (ผู้เข้า- อบรมคือผู้ที่ผ่านการอบรมระดับ 2) |
ที่ว่าการอำเภอ
|
ขั้นที่ 4 คณะวิทยากร ศูนย์ ปภ.เขตและกรม ปภ. |
|
ศูนย์ ปภ.เขต |
เทคนิคการค้นหาผู้เข้าอบรมที่มีคุณภาพ
ในสภาพของสังคมชนบท ในแต่ละหมู่บ้านจะมีราษฎรที่มีวัยวุฒิ มีฐานะทางเศรษฐกิจ ช่วยเหลือตัวเองได้ มีความเมตตาอยู่ในจิตใจ พร้อมจะช่วยเหลือผู้อื่น แต่กลุ่มคนเหล่านี้มักจะ ไม่แสดงตนแม้จะมาเข้าร่วมประชุมก็จะอยู่มุมเงียบๆ หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็น อบต. หรือเทศบาล สามารถดึงบุคคลประเภทนี้เข้ามาร่วมกิจกรรมหรือเข้าอบรมจนถึงหลักสูตร อปพร.ได้ หมู่บ้านจะได้ทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่ามาช่วยเหลือสังคมได้เป็นอย่างดี ฉะนั้น คณะวิทยากรผู้ดำเนินการอบรมจะต้องช่างสังเกตและช่วยค้นหาด้วย
นอกจากนี้ การใช้เครื่องมือด้านเทคนิคที่เกรียกว่า สังคมมิติ (SOCIO – METRIC) ก็จะช่วยให้ค้นพบบุคคลที่มีแววของผู้นำทางธรรมชาติในแต่ละหมู่บ้านได้เช่นกัน หากบุคคลเหล่านี้ได้อบรมจนถึงระดับ อปพร. จำนวนมากก็จะทำให้หน่วยอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนทุกหน่วยมีความเข้มแข็ง มีสมาชิก อปพร. ที่มีคุณภาพอันพึงปรารถนา
การสร้างมวลชนสัมพันธ์กับมวลสมาชิก อปพร.
การสร้างเครือข่าย อปพร. ทั้งปัจเจกบุคคลหรือศูนย์ อปพร. มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อผูกมัดร้อยรัดให้ อปพร.เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อให้เกิดพลังในการปฏิบัติภารกิจร่วมกัน ในอนาคต
ดังนั้น ข้อมูลข่าวสารของ อปพร.จะต้องมีการสื่อถึงมวลสมาชิกอย่างต่อเนื่อง โดยหน่วยงานของกรม ปภ.จะต้องเป็นศูนย์กลางในการสร้างมวลชนสัมพันธ์
บทบาทของสำนักงาน ปภ.จังหวัด
1. จัดทำจดหมายข่าวถึงสมาชิก
2. จัดรายการวิทยุ โดยขอเวลาจากสถานีวิทยุต่างๆ เพื่อทำหน้าที่เป็นสื่อกลางของ อปพร.ทั้งจังหวัด พร้อมทั้งส่งขาวเผยแพร่ประชาสัมพันธ์กิจกรรมหรือความก้าวหน้าของศูนย์ อปพร. ต่างๆ สู่สมาชิก
บทบาทของศูนย์ ปภ.เขต
กรม ปภ. มีภารกิจหน้าที่ในฐานะเจ้าภาพที่จะต้องรับผิดชอบการป้องกันและบรรเทา
สาธารณภัย เพื่อลดความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นแก่ประชาชนให้น้อยที่สุด ดังนี้ การประกาศเตือนภัยให้ประชาชนทราบล่วงหน้าอย่างรวดเร็วเป็นสิ่งที่จำเป็น หากศูนย์ ปภ.ทุกแห่งมีสถานีวิทยุกระจายเสียงเองก็จะสามารถปฏิบัติภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ฉะนั้น กรม ปภ.สมควรจะยื่นเสนอขออนุมัติคลื่นความถี่วิทยุเพื่อจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงศูนย์ ปภ.เขต เพื่อรายงานข่าวด้านสาธารณภัย รวมทั้งข่าวของกิจการ อปพร.ในจังหวัดของศูนย์ ปภ.เขต
ปัจจัยที่เอื้ออำนวยในการจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสีย
1. กรม ปภ.มีบุคลากรด้านช่างเทคนิคจำนวนมาก หากได้รับการอบรมเพิ่มเติม ก็น่าจะสามารถปฏิบัติงานการควบคุมด้านเทคนิคได้
2. ศูนย์ ปภ.เขต ส่วนใหญ่มีอาณาเขตกว้างขวาง และมีเสาอากาศสูงขนาด 60 ม. น่าจะปรับปรุงเป็นเสาอากาศของสถานีวิทยุกระจายเสียงได้
3. บุคลากรของกรม ปภ.ที่มีพื้นฐานด้านนิเทศศาสตร์และด้านสื่อสารมวลชน อยู่กระจัดกระจายในกลุ่มงานต่างๆ จำนวนไม่น้อย สามารถรวมทีมดำเนินการบริหารกิจการวิทยุกระจายเสียงของกรม ปภ.ได้
สำหรับการจัดหาเครื่องส่งวิทยุ นอกจากจะขอรับการสนับสนุนจากงบประมาณแผ่นดินแล้วอาจจะขอรับการสนับสนุนแหล่งทุนจากภาคเอกชนหรือองค์กรต่างประเทศ
สรุป
การมีส่วนร่วมของประชาชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในงาน อปพร.จะเพิ่ม
ประสิทธิภาพของงานป้องกันและบรรเทาสาะารณภัยให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนยิ่งขึ้น ทั้งนี้ กรม ปภ.จะต้องสอดประสานรับภาระดำเนินการในส่วนที่ท้องถิ่นไม่สามารถดำเนินการได้ โดยเฉพาะบุคคลที่เป็นสมาชิก อปพร. นับได้ว่าเป็นผู้ที่เสียสละทุกคนปฏิบัติภารกิจด้วยใจ ไม่มีผลตอบแทนเป็นตัวเงิน ฉะนั้น ศักดิ์ศรีเกียรติภูมิ การยอมรับของสาธารณชนจึงเป็นสิ่งที่มีคุณค่ายิ่งหากเมื่อใดสถาบัน อปพร.ได้อยู่ในพระอุปถัมภ์ หรือพระบรมราชินูปถัมภ์ หรือพระบรมราชูปถัมภ์ ก็จะสร้างพลังให้มวลสมาชิก อปพร.ได้มีกำลังใจยิ่งขึ้นที่จะอุทิศตนทำงานเพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์อย่างสุดชีวิต
เอกสารอ้างอิง
1. คู่มือปฏิบัติงานกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จัดพิมพ์โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
กระทรวงมหาดไทย
2. คู่มือปฏิบัติงานอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน จัดพิมพ์โดยศูนย์อาสาป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย
3. รอดตาย ! แปลโดย กิตติกานต์ อิศระ (THE WORST – CASE SCENARIO SURVIAL
HANDBOOK) เขียนโดย JOSHUA PIVEN AND DAVID BORGENICHT
4. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2535
5. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542
6. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540